วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

"เยือนชุมชุนคนทำเทียน อุบลราชธานี 2558" กับรถเช่าอุบล โดย ECOCAR สาขาอุบลราชธานี

                                                                       
 กิจกรรม เยือนชุมชน...คนทำเทียน เป็นอีกกิจกรรมหนึ่ง ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับจังหวัดอุบลราชธานี และคุ้มวัดต่างๆในเมืองอุบลฯ และอำเภอวารินชำราบจัดขึ้นต่อเนื่องมาหลายปี

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการส่งเสริมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จ.อุบลฯ ให้มีความยั่งยืน และน่าสนใจยิ่งขึ้น เนื่องจากนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะรู้จักงานแห่เทียนเฉพาะในรวมเทียนและวันแห่เทียนเท่านั้น  แต่ผู้ที่ร่วมกิจกรรมเยือนชุมชน คนเทียน  จะได้มีโอกาสได้เรียนรู้ถึงเบื้องหลังของต้นเทียนที่สวยงามว่าต้องผ่านกระบวนการในการจัดทำอย่างยากเย็น และใช้เวลาเตรียมการนานนับเดือน  ต้องใช้ช่างพื้นบ้าน แรงศรัทธา และความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ในปี 2558  มีชุมชนคุ้มวัดต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวทั้งสิ้นรวม 11 วัด ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดเดินทางไปร่วมชมวิถีวัฒนธรรมในการตกแต่งต้นเทียน ได้แก่     วัดหนองปลาปาก วัดพระธาตุหนองบัว วัดท่าวังหิน  วัดศรีอุบลรัตนาราม   วัดไชยมงคล  ศูนย์การเรียนเทียนพรรษาวัดศรีประดู่  วัดบูรพา  วัดทุ่งศรีเมือง  และวัดมหาวนาราม วัดแจ้ง และวัดผาสุการามร่วมกับโรงเรียนเทศบาลบ้านสุขสำราญ    โดยนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปเยี่ยมชมได้ในระหว่างวันที่ 15-31 กรกฏาคม  2558  
และรถเช่าอุบลมีแผนที่นำเที่ยวมาไห้ศึกษาข้อมูลการเดินเที่ยวกับ กิจกรรมเยือนชุมชนคนทำเทียนด้วยครับ มาดูแผนที่พาเที่ยวกันนะครับว่าจะเดินทาง แวะเยื่ยมชมได้ทุกที่หรือปาว 


 

"กับกิจกรรม เยือนชุมชนคนทำเทียน อุบลราชธานี 2558" มาเที่ยวอุบลกันเยอะๆนะค่ะ ^^
‪#‎รถเช่าอุบลราชธานี‬ ‪#‎รถเช่าอุบล‬
มาเที่ยวอุบลราชธานี เช่ารถอุบลกับ ECOCAR
รถเช่าอุบล เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-20.00 น.
สถานที่รับรถเช่าอุบล : สนามบินนานาชาติอุบลราชธานี
ติดต่อเช่ารถอุบล โทร 061-6485438
Line ID : 0616485438
E-mail : ubon@thairentecocar.com
http://www.thairentecocar.com/

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี โดย รถเช่าอุบล BY ECOCAR





ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี โดย รถเช่าอุบล

ประวัติแห่เทียนพรรษา

มีประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ #รถเช่าอุบล#
การถวายเทียนเพื่อจุดตามประทีปเป็นพุทธบูชานั้น มาจากอานิสงส์การถวายเทียนเพื่อจุดเป็นพุทธบูชา ที่ปรากฏความในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์อรรถกถา ว่าพระอนุรุทธะเถระ เคยถวายเทียนบูชาทำให้ได้รับอานิสงส์มากมาย รวมถึงได้เป็นผู้มีจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ด้วย ด้วยการพรรณาอานิสงส์ดังกล่าว อาจทำให้ชาวพุทธนิยมจุดประทีปเป็นพุทธบูชามานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าการทำเทียนพรรษาในประเทศไทยถวายเริ่มมีมาแต่สมัยใด แต่ปรากฏความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่พรรณาการบำเพ็ญกุศลในช่วงเข้าพรรษาว่ามีการถวายเทียนพรรษาด้วย
ในประเทศไทย การถวายเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยจะเรียกว่าพุ่มเทียน มีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมพึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน #รถเช่าอุบลราชธานี#
การถวายเทียนพรรษาโดยแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ นั้น มีมาแต่โบราณ เดิมเป็นประเพณีราชสำนักดังที่ปรากฏในเทียนรุ่งเทียนหลวงตามพระอารามต่าง ๆ สำหรับเทียนแกะสลักที่ปรากฏว่ามีการจัดทำประกวดกันเป็นเรื่องราวใหญ่โตในปัจจุบันนั้น พึ่งเริ่มมีเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายโพธิ์ ส่งศรี ได้เริ่มทำแม่พิมพ์ปูนซีเมนต์เพื่อหล่อขี้ผึ้งเป็นทำลวดลายไทยไปประดับติดพิมพ์บนเทียนพรรษา นับเป็นการจัดทำเทียนพรรษาแกะสลักของช่างราษฏร์เป็นครั้งแรก และนายสวน คูณผล ได้ทำลวดลายนูนสลับสีต่าง ๆ เข้าประกวดจนชนะเลิศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 จึงเริ่มมีการทำเทียนพรรษาติดพิมพ์ประกวดแบบพิสดารโดยนายประดับ ก้อนแก้ว คือทำเป็นรูปพุทธประวัติติดพิมพ์จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันมาหลายปี จนปี พ.ศ. 2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างแกะสลัก ได้ทำเทียนพรรษาแบบแกะสลักมาประกวดเป็นครั้งแรกจนได้รับรางวัลชนะเลิศ จากนั้นจึงได้มีการแยกประเภทการประกวดต้นเทียนเป็นสองแบบคือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก จนในช่วงหลังปี พ.ศ. 2511 นายอุตสาห์ และนายสมัย แสงวิจิตร ได้เริ่มมีการจัดทำเทียนพรรษาขนาดใหญ่โต ทำเป็นหุ่นและเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของเทียนพรรษาขนาดใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบัน
ในอดีต การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ แต่ในปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่จะนิยมการซื้อหาเทียนพรรษาจากร้านสังฆภัณฑ์ โดยบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างถวายแก่พระสงฆ์แทนด้วย ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยตรง เพราะปัจจุบันไม่ได้มีการนำเทียนมาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงนำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น